พฤษภ กาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่ห์คง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติ วางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา
................
อยากบันทึกไว้ว่า โคลงบทนี้ มักจะเขียนกันผิด ตรงคำว่า พฤษภ และ กาสร
บ้างเขียน พฤกษก ผกาสร บ้างก็ พฤกษภ พกาสร ซึ่งให้ความหมายเป็นคนละเรื่อง
พฤษภ มันแปลว่า โค หรือ วัว
ส่วน กาสร แปลว่า กระบือ หรือ ควายนั่นเอง
สำหรับกุญชร ก็แปลว่า ช้าง
โททนต์ นี้ถ้าแปลตรงๆ แปลว่า ฟันสองซี่ แต่จริงๆแล้วหมายถึง เขา หรือ งา
ดังนั้นถ้าจะลองแปลความหมายของ โคลงโลกนิติ บทที่ว่านี้ ก็อาจจะได้ว่า
"วัว ควาย และช้าง เมื่อตายไป ก็ยังเหลือ เขา หรือ งา ไว้เป็นอนุสรณ์
แต่คนเรา เมื่อตายไป ร่างกายถูกเผาหรือเน่าเปื่อยผุพัง แล้วก็ไม่เหลืออะไร
ความดี-ความชั่ว ที่เราทำไว้ขณะมีชีวิตเท่านั้น ที่จะคงอยู่ตลอดไป"
อืมมมม... กูแปลได้ควายมั่กๆ ... 555
แต่ก็ เอาน่า ความรู้ส่วนตัว ใหม่ๆ ... จดไว้ๆ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
บรรทัดที่สอง ที่ถูกน่าจะเป็น “โททนต์ เสน่งคง” ค่ะ
เสน่งหมายถึงเขาสัตว์ค่ะ
"โททนต์เสน่งคง"ครับแปลว่า โท แปลว่าสอง
ทนต์ คือฟัน ในที่นี้หมายถึงงาทั้งสองกิ่งของช้าง
เสน่ง หมายถึงเขา(เขาสัตว์)ทั้งสองของวัว ควาย
คง เหลืออยู่ หรือคงอยู่
Post a Comment